• No results found

การบร หารความเส ยงระด บแผนงานโครงการ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2021

Share "การบร หารความเส ยงระด บแผนงานโครงการ"

Copied!
19
0
0

Loading.... (view fulltext now)

Full text

(1)

หลักการและเหตุผล

◘ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 เห็นชอบให้สํานักงาน กพร. นําเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เข้ามาใช้เป็น เครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ◘ PMQA ได้กําหนดให้หน่วยงานนําการบริหารความเสี่ยงมาใช้ควบคู่กับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่ง กพร. ได้กําหนดเป็นตัวชี้วัดในคํารับรองการปฏิบัติ ราชการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ◘ กําหนดให้จังหวัดต้องมีขั้นตอนการดําเนินการหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามกระบวนการบริหารความ

เสี่ยงตามมาตรฐาน COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission) และนําแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล

ที่เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย

ความเสี่ยง

ความเสี่ยง (Risk) คือ เหตุการณ์/การกระทําใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็น ตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) หรือความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามแผนปฏิบัติราชการ

การบริหารความเสี่ยงระดับแผนงานโครงการ (Project Risk Management)คือ กระบวนการดําเนินงานที่เป็นระบบและต่อเนื่องเพื่อลดความ สูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงต่างๆ ในการดําเนินงานตามโครงการให้เหลือน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่องค์การยอมรับได้ตลอดจนเป็นองค์ประกอบสําคัญ ในการกํากับดูแลกิจการที่ดีที่จะช่วยให้การดําเนินงานตามแผนงานโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กําหนดไว้ แผนบริหารความเสี่ยงคือ แผนบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการการดําเนินการต่างๆโดยลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่จะทําให้เกิด ความเสียหายเพื่อให้ระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่สามารถรับได้ ประเมินได้ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคํานึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการเป็นสําคัญ

(2)

-1-วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ฝ่ายบริหาร/ฝ่ายปฏิบัติการเข้าใจหลักการและกระบวนการบริหารความเสี่ยงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบขั้นตอนและกระบวนการในการวางแผนบริหารความเสี่ยงระดับโครงการ 3. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในระดับโครงการ (project-level) ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5. เพื่อลดโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติราชการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป้าหมายหลัก

1. ได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงเพื่อนําไปใช้ในการดําเนินงานตามแผนงานโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้ 2. ระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) หรือความล้มเหลวหรือลดโอกาสจะบรรลุ เป้าหมายในระดับโครงการตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ 3. กําหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยงและการดําเนินการแก้ไขลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 4. บริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และนําแผนบริหารความเสี่ยงไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการเพื่อบริหารความเสี่ยง

การคัดเลือกแผนงานโครงการสําคัญเพื่อบริหารความเสี่ยง: เลือกเพียง 1 โครงการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์โดยพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้ • จํานวนงบประมาณโครงการโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 1 = ไม่เกิน 1 ล้านบาท; 2 = 1-10 ล้านบาท; และ 3 = 10 ล้านบาทขึ้นไป • จํานวนหน่วยงานที่ร่วมดําเนินงานโครงการ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 1 = ดําเนินการหน่วยงานเดียว; 2 = ดําเนินการหลายหน่วยงาน ในกระทรวงเดียวกัน; และ 3 = ดําเนินการ/ทํางานข้ามกระทรวง
(3)

-2-แนวทางการจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงระดับโครงการ

1. เลือกแผนงานโครงการสําคัญเพื่อบริหารความเสี่ยง: เลือกเพียง 1 โครงการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งผลการดําเนินงานโครงการ เกิดผลกระทบต่อความสําเร็จของประเด็นยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญ 2. กําหนดเป้าหมายการจัดการความเสี่ยง (Objective setting): การกําหนดและทําความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรจึงเป็นขั้นตอน แรกที่ต้องกระทําเพื่อกําหนดหลักการและทิศทางในกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กําหนดกรอบเป้าหมายการ จัดการความเสี่ยงเพื่อจัดการการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อความสําเร็จหรือการบรรลุเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ ซึ่งจะ สามารถลดโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติราชการของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. ใช้กรอบการบริหารความสี่ยงตามมาตรฐาน COSO เป็นแนวทางในการวางแผน: การระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การ กําหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงและการติดตามและประเมินผล ซึ่งกรอบดังกล่าวได้นําแนวคิดธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย 4. กําหนดรายละเอียดกิจกรรมและแผนการดําเนินงาน: แผนงานดังกล่าวจะถูกนําไปดําเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงดังนั้นในแผนดังกล่าว ต้องมีตัวชี้วัดความสําเร็จที่สามารถติดตามกํากับได้
(4)

-3-กระบวนการจัดการความเสี่ยง

Y

ก าร วิ เค ร าะ ห

ค ว าม เสี่ ย ง

Z

ก าร กํา ห น ด ม าต ก าร

ค ว าม เสี่ ยง

[

ก าร จั ด ก าร

ค ว าม เสี่ ยง

\

ก าร ติ ด ต าม แล ะ

ป ร ะ เมิ น ผ ล

X

ก าร ร ะ บุ

ค ว าม เสี่ ยง

(5)

-4-ประเภทความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic risks)เป็นความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจทําให้เป้าหมายในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงหรือการไม่บรรลุผลได้แก่ • ความเสี่ยงด้านแนวทางการดําเนินงานที่ไม่สอดคล้องกัน • ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ทางการเมือง • ความเสี่ยงด้านการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน 2. ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล(Governance risks)เป็นความเสี่ยงในกระบวนการหลักขององค์กร อันทําให้องค์กรไม่สามารถดําเนินการตามหลักการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเช่นความเสมอภาคความคุ้มค่าความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของสาธารณะได้แก่

• ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ( Public Accountability ; PA)

• ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของสาธารณะ ( Public Participation ; PP) • ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการสนองตอบรับ ( Responsiveness ; R) • ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ( Rule of Law ; RL) • ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม ( Virtue ; V) • ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักโปร่งใส ( Transparency ; T) • ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาค ( Equity ; E)

• ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่า ( Value for Money ; VM)

3. ความเสี่ยงด้านอื่นๆ (Other risks)ที่อาจส่งผลให้การดําเนินงานของโครงการต่างๆ ไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้เช่น • ความเสี่ยงด้านการเมืองและสังคม • ความเสี่ยงด้านการเงินและเศรษฐกิจ • ความเสี่ยงด้านกฎหมาย • ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี • ความเสี่ยงด้านการดําเนินการ • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

(6)

-5-พจนานุกรมบริหารความเสี่ยง

1. ประเด็นความเสี่ยง เป็นการระบุประเด็นสําคัญที่อาจจะทําให้เกิดความเสี่ยงในการดําเนินงานขององค์กรอันจะทําให้ผลลัพธ์ของการดําเนินงาน ซึ่งกําหนดไว้อย่างชัดเจน (เช่นแผนพัฒนาจังหวัด) ไม่บรรลุผล 2. ความเสี่ยง เป็นการระบุสิ่งที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบหรือทําให้การดําเนินงานไม่ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ 3. ปัจจัยเสี่ยง เป็นการระบุต้นเหตุหรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยงที่จะทําให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนด 4. ผลกระทบที่มีนัยสําคัญเป็นการระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้มีมาตรการใดๆในการจัดการความเสี่ยง 5. ประเภทความเสี่ยง เป็นการระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดําเนินงานซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ a. ความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ความเสี่ยงด้านแนวทางการดําเนินงานที่ไม่สอดคล้องกัน 2) ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ทางการเมือง 3) ความเสี่ยงด้านการตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ความเสี่ยงตามหลักธรรมภิบาลได้แก่ 1) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักภาระรับผิดชอบ 2) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของหน่วย รับผิดชอบโครงการ 3)ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักคุณธรรม 4) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักโปร่งใส 5) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็น ไปตามหลักความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการ 6) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม 7) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักการ b. มีส่วนร่วมของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสีย 8) ความเสี่ยงต่อการไม่เป็นไปตามหลักความคุ้มค่าในเรื่องของการกระจายผลประโยชน์ ของโครงการอย่างเป็นธรรมไปยังภาคส่วน c. ความเสี่ยงด้วนอื่นๆ เช่น 1) ความเสี่ยงด้านการเมืองและสังคม 2) ความเสี่ยงด้านการเงินและเศรษฐกิจ 3) ความเสี่ยงด้านกฎหมาย 4) ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี 5) ความเสี่ยงด้านการดําเนินการ 6) ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
(7)

-6-6. การประเมินความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์การประเมินและการจัดลําดับความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของ กระบวนการทํางานของโครงการซึ่งมีด้วยกัน 3 เกณฑ์ได้แก่ a. โอกาส เป็นการระบุระดับของโอกาสหรือความบ่อยครั้งที่จะเกิดความเสี่ยง โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1 คือโอกาสเกิดน้อยที่สุด, 2 คือโอกาสเกิด น้อย, 3 คือโอกาสเกิดปานกลาง, 4 คือโอกาสเกิดมากและ 5 คือโอกาสเกิดมากที่สุด b. ผลกระทบ คือขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ตามที่ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1 คือรุนแรง น้อยที่สุด, 2 คือรุนแรงน้อย, 3 คือรุนแรงปานกลาง, 4 คือรุนแรงมากและ 5 คือรุนแรงมากที่สุด c. ระดับ คือผลการรวมคะแนนระหว่างโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับความเสียหาย/ผลกระทบ เพื่อจัดลําดับความสําคัญและใช้ในการตัดสินใจว่าความเสี่ยง ใดควรเร่งจัดการก่อน ซึ่งตามแผนการจัดการความเสี่ยงนี้กําหนดให้ปัจจัยเสี่ยงใดๆที่มีระดับคะแนน10 ขึ้นไปต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน 7. การจัดการที่ควรจะมี คือกิจกรรม/กระบวนการที่ควรจะมีในการจัดการความเสี่ยง 8. การจัดการที่มีอยู่แล้ว คือกิจกรรม/กระบวนการที่องค์กรมีอยู่และได้ใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 9. ผลการจัดการที่มีอยู่แล้ว คือผลลัพธ์อันเกิดจากการจัดการความเสี่ยง โดยใช้กิจกรรม/กระบวนการที่องค์กรมีอยู่ในปัจจุบัน โดยมี 4 ระดับดังนี้ (1) ต้อง ปรับปรุง, (2) ควรปรับปรุง, (3) คงเดิม และ (4) ดีมาก 10.ความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่คือ ความเสี่ยงที่ยังคงเหลืออยู่ภายหลังจากการที่มีการจัดวางระบบการจัดการแล้วและประเมินการจัดการได้ว่าต้องปรับปรุงและ ควรปรับปรุงซึ่งต้องปรับปรุงแนวทางการจัดการหรืออาจใช้แผนบริหารความเสี่ยงในการดําเนินการ

(8)

-7-11.มาตรการจัดการความเสี่ยง คือมาตรการที่ใช้ในการเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลง หรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงอยู่ในระดับ ที่องค์กรยอมรับได้ a. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และหน่วยงานไม่อาจยอมรับความเสี่ยงได้ จึงต้องยกเลิกโครงการ/ กิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงนั้นๆไป b. การยอมรับความเสี่ยงเป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่าในการจัดการหรือป้องกันความเสี่ยง ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้าง ระบบควบคุมแต่อย่างไรก็ตามหากหน่วยงานเลือกที่จะบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีนี้ก็จะต้องมีการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงอยู่สม่ําเสมอ c. การควบคุมความเสี่ยงเป็นการปรับปรุงระบบการทํางานหรือออกแบบวิธีการทํางานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่ องค์กรยอมรับได้ d. การถ่ายโอนความเสี่ยง เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป เช่น การให้หน่วยงานระดับสูงขึ้นไป ทําหน้าที่ในการจัดการ แก้ไขการทําประกันภัยหรือการจัดจ้างหน่วยงานภายนอกให้จัดการงานบางอย่าง 12.กิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยง เป็นการระบุกิจกรรม/กระบวนการที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยง 13.ผู้รับผิดชอบเป็นการระบุชื่อ/ตําแหน่งผู้รับผิดชอบในกิจกรรม/กระบวนการนั้น 14.การติดตามกํากับเป็นการระบุวิธีการในการติดตามกํากับความสําเร็จของการดําเนินงานตามกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง

(9)

-8-เกณฑ์การคัดเลือกโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ

(10)

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 : การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมต่อเนื่องและการท่องเที่ยวอย่างมีเสถียรภาพ ชื่อโครงการ วงเงินงบประมาณ(บาท) เกณฑ์การคัดเลือก ความสําคัญ (A x B) หน่วยงานดําเนินการ (A) งบประมาณ (B) 1.โครงการแก้ไขปัญหาโรครากขาวในยางพารา 4,005,200 2 2 4 2.โครงการป้องกันและกําจัดศัตรูพืช (มะพร้าว) 1,000,000 1 2 2 3.โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กร/เครือข่ายด้านการเกษตร 8,661,000 2 2 4 4.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา 8,696,100 1 2 2 5.โครงการอาหารปลอดภัยสุราษฎร์ธานี 4,789,600 2 2 4 6.โครงการพัฒนาพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ 6,500,000 2 2 4 7.โครงการ Green Island 5,000,000 1 2 2 8.โครงการศูนย์เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีวิชัย 2,910,000 1 2 2 9.โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ถ้ําเพชรพนมวัง อ.กาญจนดิษฐ์ 5,000,000 1 2 2 10.โครงการสํารวจออกแบบพัฒนาและปรับปรุงศูนย์รับส่งผู้โดยสาร ขนาดเล็กในชุมชนเมือง (ตลาดเกษตร1, 2) 3,000,000 1 2 2 11.โครงการเพิ่มศักยภาพการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ระดับจังหวัดและระหว่างภูมิภาค 10,425,000 3 3 9

(11)

-9-ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 : การพัฒนาคนให้เป็นคนดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีและบ้านเมืองให้น่าอยู่ ชื่อโครงการ วงเงินงบประมาณ(บาท) เกณฑ์การคัดเลือก ความสําคัญ (A x B) หน่วยงานดําเนินการ (A) งบประมาณ (B) 1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อความเป็นเลิศ 20,000,000 1 3 3 2.โครงการสร้างเครือข่ายการให้บริการใกล้บ้านใกล้ใจ 3,850,000 1 2 2 3.โครงการเยาวชนเดินตามรอยพ่ออย่างพอเพียง 9,467,000 1 2 2 4.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพ กําลังคนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานของท้องถิ่น 3,200,000 1 2 2 5.โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่เสี่ยง 10,000,000 1 2 2 6.โครงการครอบครัวคนดี 1,200,000 1 2 2 7.โครงการเมืองคนดีวิถีธรรม 1,800,000 1 2 2

(12)

-10-ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 การสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ชื่อโครงการ วงเงินงบประมาณ(บาท) เกณฑ์การคัดเลือก ความสําคัญ (A x B) หน่วยงานดําเนินการ (A) งบประมาณ (B) 1.โครงการชุมชนเข้มแข็งป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 19,550,000 3 3 9 2.โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ําและ พื้นที่อุทยานเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและชะลอน้ํา 13,725,000 1 3 3 3.โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว (อําเภอไชยา และอําเภอเกาะพะงัน) 2,500,000 1 2 2 4.โครงการจัดการด้านความพร้อมของประชาชนสู่รูปแบบ การจัดการขยะมูลฝอยทางเลือกในอนาคต 1,500,000 1 2 2

d:\1.kpi (d)\1.kpi\7.ตัวชี้วัดปี 2555\9.แผนบริหารความเสี่ยง\แผนบริหารจัดการความเสี่ยงแผนงานโครงการ54\ความเสี่ยงรูปเล่ม 55.doc

หมายเหตุ – ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ไม่ได้นํามาพิจารณาร่วมด้วย

(13)

-11-บัญชีสรุป

การคัดเลือกโครงการรายประเด็นยุทธศาสตร์

(14)

ลําดับ ที่ ประเด็นยุทธศาสตร์ คะแนน รวม โครงการ งบประมาณ (บาท) เป้าหมายการบริหารความเสี่ยง 1 การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต่อเนื่องและการท่องเที่ยวอย่างมี เสถียรภาพ) 9 โครงการเพิ่มศักยภาพการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยง การท่องเที่ยวระดับจังหวัดและระหว่างภูมิภาค 10,425,000 เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางเดินทางเชื่อมแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆให้มีประสิทธิภาพ 2 การพัฒนาคนให้เป็นคนดีมี คุณภาพชีวิตที่ดีและบ้านเมืองให้ น่าอยู่ 3 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อความเป็นเลิศ 20,000,000 เพื่อลดข้อจํากัดความไม่พร้อมของงบประมาณ ด้านสาธารณสุข 3 การสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งของ ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 9 โครงการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติในจังหวัด สุราษฎร์ธานี 19,550,000 เพื่อให้ชุมชนที่เสี่ยงภัยมีความพร้อมในการ จัดการสาธารณภัยของชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยชุมชนคิดเองทําเอง และใช้ทรัพยากร ชุมชนเอง

(15)

-12-แผนบริหารจัดการความเสี่ยง

(16)

ปฏิทินกิจกรรมการดําเนินงาน

ตามแผนบริหารความเสี่ยงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ

ประจําปีงบประมาณ

2555

(17)
(18)

สารบัญ

หน้า

1.

หลักการและเหตุผล

1

2.

ความหมายความเสี่ยง

1

3.

วัตถุประสงค์

2

4.

เป้าหมายหลัก

2

5.

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง

2

6.

แนวทางการจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงระดับโครงการ

3

7.

กระบวนการจัดการความเสี่ยง

4

8.

ประเภทความเสี่ยง

5

9.

พจนานุกรมบริหารความเสี่ยง

6

10.

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ

ประจําปีงบประมาณ

.

.2555

9

11.

บัญชีสรุปการคัดเลือกโครงการรายประเด็นยุทธศาสตร์

ประจําปีงบประมาณ

.

.2555

12

12.

แผนบริหารจัดการความเสี่ยงรายประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

13

13.

ปฏิทินกิจกรรมการดําเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงฯ

ปี

2555

16

14.

ภาคผนวก

(19)

References

Related documents

Use Depression NOS, or Mood Swings, or Insomnia Never Dx bipolar until all differentials ruled out Always assume you can be wrong. Antidepressants could be wrong drug Lamotrigine

Global talent management was widely accepted by human resource practitioners, consulting firms and professional associations(e.g., Boston Consulting Group, McKinsey

Professional Master of Laws (European Tax Law) LL.M. European Tax Law.. Program in “European Tax Law” has been created in 2006 to provide in- depth training for lawyers who

Accident insurance (mostly workers compensation or public transport) is compulsory in sixteen OECD countries – Australia, Belgium, Canada, Denmark, Finland, France, Germany,

In Brunei, Indonesia, Macao, the Philippines, Sri Lanka and Thailand, the solvency margin for non-life business is determined as a percentage of premium income, in this case

Unitholders of venture capital funds and of real estate investment funds in forest resources, incorporated and operating under the Portuguese legislation, that opt to aggregate

None of the other concerns discussed with respect to the standards in South Australia’s existing framework is addressed by this model (including the lumpy nature of

In cases where a pharmaceutical company is represented in Sweden only by marketing companies, these are responsible for controlling that the rules in the agreement are