• No results found

แนวปฏ บ ต ท ด ด านการประก นค ณภาพการศ กษา คณะสาธารณส ขศาสตร มหาว ทยาล ยนเรศวร

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2021

Share "แนวปฏ บ ต ท ด ด านการประก นค ณภาพการศ กษา คณะสาธารณส ขศาสตร มหาว ทยาล ยนเรศวร"

Copied!
6
0
0

Loading.... (view fulltext now)

Full text

(1)

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ท าให้หน่วยงานประสบความส าเร็จหรือน าไป สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานของความส าเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ ที่ได้บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่น สามารถน าไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เรื่อง “โครงการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจ าปีการศึกษา 2555 และ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสาม คณะสาธารณสุขศาสตร์” คณะสาธารณสุขศาสตร์ด าเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีแนวปฏิบัติที่ดีด้าน ประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งหน่วยประกันคุณภาพการศึกษาได้สกัดมาจากการด าเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546-2554 และรวบรวมการปฏิบัติงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good practice) โดย ได้ด าเนินการจัด “โครงการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจ าปีการศึกษา 2555 และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสาม คณะสาธารณสุขศาสตร์” เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการ ตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจากคณะกรรมการประเมินตรวจสอบ นอกจากนี้ คณะฯ ยังน าผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการฯ มาใช้ในการบริหารงาน ท า ให้คณะฯ ได้รับโลห์เกียรติคุณด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ประจ าปี พ.ศ. 2552” จากมหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ด้านการด าเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ 1. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะให้มีประสิทธิภาพ 2. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการด าเนินงานการควบคุมคุณภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ การศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3. น าผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการด านินงานของคณะฯ 4. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้พร้อมส าหรับการตรวจสอบคุณภาพภายในและการประเมิน คุณภาพโดยหน่วยงานภายนอก ผลการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้รับการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จากคณะกรรมการ ตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยมาแล้ว จ านวน 9 ครั้ง ดังนี้

(2)

ตารางที่ 1 ผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะสาธารณสุขศาสตร์ ครั้งที่ / วัน เดือน ปี คะแนนที่ได้ สกอ. ระดับ สมศ ระดับ ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2546 วันที่ 26 – 27 ก.ค. 2547 2.64 (คะแนนเต็ม 5) พอใช้ ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2547 วันที่ 11 – 12 ก.ค. 2548 3.86 (คะแนนเต็ม 5) ดี ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 3 ปีการศึกษา 2548 วันที่ 17 – 18 ก.ค. 2549 4.55 (คะแนนเต็ม 5) ดีมาก ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 4 ปีการศึกษา 2549 วันที่ 14 – 15 มิ.ย. 2550 4.79 (คะแนนเต็ม 5) ดีมาก ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 5 ปีการศึกษา 2550 วันที่ 3 – 4 มิ.ย. 2551 2.17 (คะแนนเต็ม 3) พอใช้ ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 6 ปีการศึกษา 2551 วันที่ 15 – 16 ก.ค. 2552 2.49 (คะแนนเต็ม 3) ดี ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 7 ปีการศึกษา 2552 วันที่ 20 – 22 ก.ค. 2553 2.86 (คะแนนเต็ม 3) ดีมาก ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 8 ปีการศึกษา 2553 วันที่ 28 – 29 ก.ค. 2554 4.24 (คะแนนเต็ม 5) ดี ไม่ประเมิน - ครั้งที่ 9 ปีการศึกษา 2554 วันที่ 21 – 22 มิ.ย. 2555 4.18 (คะแนนเต็ม 5) ดี 3.13 (คะแนนเต็ม 5) พอใช้ หมายเหตุ คณะฯ เริ่มใช้เกณฑ์การประเมินตามแนวทางของ สมศ. ในปีการศึกษา 2554

(3)

สรุปขั้นตอนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เรื่อง “โครงการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจ าปีการศึกษา 2555 และ การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบสาม คณะสาธารณสุขศาสตร์” 1. การเตรียมพร้อมก่อนการตรวจเยี่ยม 1.1 จัดกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันในแต่ละเกณฑ์ หน่วยประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ จึงได้ จัดกิจกรรมอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง เพื่อให้ผู้บริหาร หัวหน้างานที่รับผิดชอบ และบุคลากรทุก คน ได้ท าความเข้าใจในแต่ละเกณฑ์คุณภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการเขียน รายงานการประเมินตนเองต้องเขียนในสิ่งที่ปฏิบัติจริง ไม่เขียนตามเกณฑ์ แต่ต้องตอบได้ว่าองค์ประกอบนั้น ได้ใช้ วิธีการด าเนินการอย่างไร และเกิดผลเป็นอย่างไร 1.2การจัดเตรียมรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของคณะฯ จัดท ารายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของคณะฯ โดยใช้รูปแบบการจัดท ารายงานตามที่ มหาวิทยาลัยนเรศวรก าหนด โดยในปีการศึกษา 2546 – 2554 คณะฯ ใช้เกณฑ์การประเมินตามแนวทางของ สกอ. 9 องค์ประกอบคุณภาพ และเริ่มใช้เกณฑ์การประเมินตามแนวทางของ สมศ. ในปีการศึกษา 2554 1.3 เอกสารอ้างอิง จัดเตรียมเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพให้สอดคล้องกับการเขียน รายงานการประเมินตนเอง เน้นส่วนส าคัญของการน าเสนอในหลักฐาน เพื่อสื่อให้ผู้ประเมินเข้าใจ เนื่องจาก หลักฐานชิ้นหนึ่ง สามารถอ้างอิงได้ในหลายองค์ประกอบ นอกจากนี้เอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงในแต่ละตัวบ่งชี้ ต้องเป็นข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกับที่น าเสนอในรายงานการประเมินตนเอง สาระในเอกสารต้องตรงกับชื่อเอกสารที่ ระบุในรายงานการประเมินตนเอง 1.4 การรวบรวมเอกสาร เจ้าหน้าที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้ประสานรวบรวมข้อมูลจากผู้รับผิดชอบทุกคน ตรวจสอบความสอดคล้องของเอกสารในเบื้องต้น หากไม่เกี่ยวข้องประสานผู้รับผิดชอบ และมีการอภิปรายร่วมกัน ระหว่าง - รองคณบดีที่รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา - รองคณบดีที่รับผิดชอบ - เจ้าหน้าที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา และ - เจ้าหน้าที่ที่รวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 1.5 การเตรียมข้อมูลเพื่อการตรวจเยี่ยม 1.5.1 เจ้าหน้าที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา รวบรวมส่งข้อมูล SAR ให้กับคณะกรรมการ ประเมินทางจดหมายอิเลกทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์เอกสาร และจัดส่งเอกสารฉบับประเมินให้กับคณะกรรมการ ล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วันท าการ

(4)

1.5.2 จัดเก็บ (Upload) หรือเชื่อมโยง (Link) ไว้บนระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) ซึ่งท าให้การจัดเก็บเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหาของคณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ และไม่เป็นภาระ เรื่องการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานของคณะฯ 1.5.3 กรณีเอกสารที่ใช้ในการตรวจประเมิน มีความหนา ให้ท าการเขียนแจ้งไว้ในรายงานการ ประเมินและระบบ CHE QA Online และจัดเตรียมไว้ให้คณะกรรมการตรวจประเมิน 1.5.4 เตรียมเอกสารการแนะน าคณะฯ และการด าเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯ โดย จัดท าในรูปแบบ PowerPoint ให้มีความน่าสนใจ ไม่น าเสนอ PowerPoint ตามรายงานการประเมินตนเอง ควร สรุปงานส าคัญ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลผู้ประเมินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรายงานการประเมินตนเอง ผู้ประเมินได้ศึกษา จากรายงานที่ทางคณะฯ ส่งให้เรียบร้อยแล้ว 1.6 การเตรียมบุคลากร 1.6.1 การเตรียมบุคลากรในคณะฯ ควรมีความครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ท าความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพในประเด็นที่ส าคัญๆ อาทิ การประเมิน คุณภาพคืออะไร มีความส าคัญต่อการพัฒนาอย่างไร ขั้นตอนการประเมินคุณภาพเป็นเช่นไร 2) ขอความร่วมมือบุคลากรในการตอบค าถามหรือการสัมภาษณ์โดยยึดหลักว่าตอบตาม สิ่งที่ปฏิบัติจริงและผลที่เกิดขึ้นจริง 3) เปิดโอกาสให้บุคลากร อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความกระจ่างใน การด าเนินงานของทุกหน่วยงานในทุกประเด็น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของบุคลากร 1.6.2 การเตรียมบุคลากรผู้ประสานงานในระหว่างการตรวจเยี่ยมจ าเป็นต้องมีบุคลากรจ านวน 2 คน โดยคนที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา ท าหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะกรรมการ ประเมินกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนคนที่ 2 ท าหน้าที่ประสานการเดินทาง ที่พัก อาหาร และช่วย เจ้าหน้าที่คนที่ 1 โดยผู้ประสานงานควรเตรียมตัวดังนี้ 1) ท าความเข้าใจทุกกิจกรรมของแผนการประเมินอย่างละเอียด 2) ท าความเข้าใจอย่างดีกับภารกิจของคณะฯ เพื่อสามารถให้ข้อมูลต่อผู้ประเมิน รวมทั้ง ต้องรู้ว่าจะต้องติดต่อกับใครหรือหน่วยงานใด หากคณะกรรมการฯ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่ตนเองไม่สามารถตอบได้ 3) มีรายชื่อ สถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ของคณะกรรมการฯ ที่เชิญมาให้ข้อมูลอย่าง ครบถ้วน เพื่อการประสานงานในช่วงการประเมิน 4) ประสานงานล่วงหน้ากับผู้ที่จะให้ข้อมูลที่เป็นบุคลากรภายในและภายนอกคณะฯ ว่าจะ เชิญมาเวลาใด ห้องใด หรือพบกับใครตามตารางการตรวจเยี่ยมและประเมินฯ และยืนยันการเข้าร่วมก่อนวัน ประเมินจริง 5) เมื่อมีปัญหาในการอ านวยความสะดวกแก่คณะกรรมการฯ จะต้องสามารถประสานงาน และแก้ไขได้ทันที 6) อ านวยความสะดวกคณะกรรมการประเมินฯ ในการกรอกคะแนนในระบบ และจัดท า รายงานการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ทางคณะฯ ในวันสุดท้ายของการประเมิน

(5)

1.7 การเตรียมสถานที่ส าหรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินฯ 1.7.1 ห้องท างานของคณะกรรมการฯ 1) จัดเตรียมห้องท างานและโต๊ะที่กว้างพอส าหรับวางเอกสาร โดยเป็นห้องมีความเป็นส่วนตัว ของคณะกรรมการฯ ในการอภิปรายร่วมกัน 2) จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องเขียนในห้องท างาน และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ให้คณะ กรรมการฯ พร้อมใช้งานได้ตามความต้องการ 3) จัดเตรียมโทรศัพท์พร้อมหมายเลขที่จ าเป็นไว้ในห้องท างานหรือบริเวณใกล้เคียง 4) ประสานงานกับคณะกรรมการฯ เพื่อทราบความต้องการพิเศษอื่นใดเพิ่มเติม 5) เตรียมห้องที่ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ฯลฯ 1.8 การเตรียมการประสานงานกับทีมคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและประเมินฯ 1) จ านวนคณะกรรมการประเมินฯ เป็นไปตามแนวทางของ สกอ. โดยผู้ประเมินในต าแหน่ง ประธาน และกรรมการ จะต้องมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของ สกอ. 2) คณะกรรมการประเมินผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของ คณะฯ เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความเข้าใจในบริบทของคณะฯ อย่างแท้จริง 3) ประสานทางวาจากับคณะกรรมการประเมินฯ หากคณะกรรมการสะดวกในวัน เวลา ที่ ก าหนดแล้ว จึงจัดท าหนังสือราชการเชิญอย่างเป็นทางการ 4) เอกสารแนบหนังสือราชการเรียนเชิญคณะกรรมการประเมินฯ ประกอบด้วย ก าหนดการ ตรวจเยี่ยมและประเมินฯ พร้อมจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของคณะฯ และรหัสผ่านเข้า CHE Online ให้แก่คณะกรรมการฯ เพื่อให้คณะกรรมการประเมินฯ ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของคณะฯ ก่อนล่วงหน้า 2) การด าเนินการในช่วงเวลาตรวจเยี่ยม 2.1 ระหว่างการตรวจเยี่ยมและประเมินฯ 1) เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนได้ร่วมรับฟังคณะกรรมการฯ ชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการ ประเมินในวันแรกของการตรวจเยี่ยมฯ 2) บุคลากรปฏิบัติงานตามปกติระหว่างการตรวจเยี่ยม แต่เตรียมพร้อมส าหรับการน าเยี่ยมชม หรือตอบค าถาม หรือรับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการฯ 3) จัดให้มีผู้ประสานงานท าหน้าที่ตลอดช่วงการตรวจเยี่ยมฯ ทั้งนี้ เพื่อประสานงานกับบุคคล หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการฯ ต้องการข้อมูลและเพื่อน าการเยี่ยมชมหน่วยงานภายในตลอดจนอ านวยความ สะดวกอื่นๆ 4) ในกรณีที่คณะกรรมการประเมินฯ ท างานต่อหลังเวลาราชการ ควรมีผู้ประสานงานอ านวย ความสะดวก 5) บุคลากรทุกคนควรได้มีโอกาสรับฟังการให้ข้อมูลป้อนกลับจากคณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ เมื่อสิ้นสุดการตรวจเยี่ยม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ซักถามหรือขอความเห็นเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม

(6)

3) การด าเนินการของคณะฯ ภายหลังการตรวจเยี่ยมและประเมินฯ 1) รองคณบดี และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา สรุปคะแนนและ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ เทียบเคียงผลการด าเนินงานในปีที่ผ่านกับคะแนนที่ได้ในปีปัจจุบัน 2) น าข้อมูลจากข้อ (1) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจ าคณะฯ อภิปราย และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ภายหลังการประชุมประสานงานกับคณะกรรมการ / ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปรับปรุงการด าเนินงานในส่วนที่ รับผิดชอบต่อไป 3) ผู้บริหารขอบคุณในความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทุกคนผ่านการประชุมคณะกรรมการประจ าคณะฯ โดย ให้ผู้บริหารในคณะกรรมการประจ าคณะฯ สื่อสารไปยังอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในความรับผิดชอบ เพื่อสร้างขวัญ และก าลังใจและกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมความส าเร็จทั้งหมดที่มาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย 4) เจ้าหน้าที่หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา น าข้อมูลที่ได้จากการประสานงานข้อ (2) มารวบรวม วิเคราะห์การด าเนินการ วางแผนการประกันคุณภาพการศึกษาในปีต่อไป รวมถึงท าหน้าที่เป็นกลไกในการจัด โครงการ/กิจกรรม ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และน าโครงการ/กิจกรรม ดังกล่าว เข้าที่ประชุม คณะกรรมการประกันคุณภาพคณะฯ เพื่อน าเสนอบรรจุในแผนปฏิบัติการในปีต่อไป 5) ติดตามข้อมูลประกันคุณภาพทุก 6 9 และ 12 เดือน และวางแผนคาดการณ์คะแนน เพื่อน าเสนอ ผู้บริหารรบทราบ และตัดสินใจ ในการปรับปรุงการด าเนินงานให้ทันเวลา การวิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จากการสกัดแนวปฏิบัติที่ได้ด าเนินการในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่าการด าเนินการได้ใช้ แนวคิด PDCA ในการท างาน ดังแสดงในรูปที่ 1 ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ในโครงการ ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ในโครงการ 1. โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 2. ก าหนดการ 3. หนังสือราชการเรียนเชิญคณะกรรมการ 4. รายงานการสรุปโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน การเตรียมก่อนตรวจเยี่ยม การด าเนินการในช่วงเวลา ตรวจเยี่ยม การด าเนินการของคณะฯ ภายหลังตรวจเยี่ยม การด าเนินการของคณะฯ ภายหลังตรวจเยี่ยม เช่น 1. การติดตามงาน QA 2. โครงการ/กิจกรรม QA 3. การประชุมคณะกรรมการ QA

References

Related documents

In addition to the data gathered using the student survey and results of the literature review, interviews with the two course instructors and one online education

The psychologist may schedule a pre- discussion meeting with the interpreter before the first session where they can brief the interpreter on the purpose of the consultation (i.e.,

Here are some examples of studies commonly conducted via private online panels: „ Quantitative „ Package testing „ Advertising tests „ Tagline tests „ Promotion tests „ Name

Reclaiming the VAT on fuel used by your business and employees can help your company make money – but get it wrong, and it can cost you.. It’s probably best to use an

16 iSCSI PDU ● PDU (Protocol Data Unit):  The initiator and target divide  their communications into  messages. The term "iSCSI 

• Bulk Dyed garment available in 9 colours • Pique knitted polyester – a high tensile strength material to withstand the toughest of games • Moisture treated and

Platt simply explains the true essence of psychology, and what the actual meaning of the field of psychology can offer people.. Considering her past work and her

(1) Any person holding a valid hotel certificate shall, on payment of a processing fee of 1,000 rupees, make an application in writing to the Committee for a star rating certificate