• No results found

บทท 2 การว เคราะห ทางการเง น ( Financial Analysis )

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2021

Share "บทท 2 การว เคราะห ทางการเง น ( Financial Analysis )"

Copied!
76
0
0

Loading.... (view fulltext now)

Full text

(1)

บทที่

2

การวิเคราะห์ทางการเงิน

(2)

2 1. เพื่อให้รู้และสามารถอธิบายความสําคัญของการวิเคราะห์ทางการเงินได้ 2. เพื่อให้รู้และสามารถอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินได้ 3. เพื่อให้รู้และสามารถอธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินได้ 4. เพื่อให้สามารถคํานวณและอธิบายการวิเคราะห์แนวตั้งได้ 5. เพื่อให้สามารถคํานวณและอธิบายการวิเคราะห์แนวนอนได้ 6. เพื่อให้สามารถคํานวณและอธิบายการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินได้ วัตถุประสงค์

(3)

3 งบการเงินหมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดําเนินงาน ฐานะทางการเงินและกระแสเงิน สดของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปงบการเงินจะประกอบด้วย 1. งบดุล (Balance Sheet) 2. งบกําไรขาดทุน (Income Statement)

3. งบกระแสเงินสด (Cash flow Statement )

(4)

4 •ในการวิเคราะห์ทางการเงิน ข้อมูลที่จะนํามาใช้วิเคราะห์ โดยส่วนใหญ่จะมาจากงบการเงิน ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบ ของงบการเงิน การจัดประเภทและการแสดงรายการต่างๆ ในงบการเงิน

(5)

5

เป็นงบการเงินที่จัดทําขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงิน

ของกิจการ

ขณะใดขณะหนึ่ง

(As at … )

ซึ่งตามปกติจะเป็นวันสิ้นงวดบัญชี

โดยที่ฐานะทางการเงินดังกล่าวจะเป็นผลจากการดําเนิน

ธุรกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มดําเนินกิจการจนถึงวันที่ระบุในงบดุล

1.

งบดุล

(Balance Sheet)

(6)

6

สําหรับรายการที่แสดงในงบดุล จะประกอบด้วยหมวด

บัญชีประเภท

-

สินทรัพย์

(Assets)
(7)

7 ตัวอย่างที่ 2 -1 บริษัทสายฟ้า จํากัด งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ... สินทรัพย์ (Assets) (หน่วย : พันบาท) 25x1 25x2 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) เงินสด 50,000 60,000 หลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของตลาด 20,000 20,000 ลูกหนี้การค้า 185,000 210,000 สินค้าคงเหลือ 150,000 160,000 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 25,000 30,000 เงินลงทุนระยะยาว 30,000 60,000 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Fixed Assets) ที่ดิน 500,000 500,000 อาคารและอุปกรณ์ 300,000 500,000 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (200,000) (250,000) อาคารและอุปกรณ์สุทธิ 100,000 250,000 รวมสินทรัพย์ 1,060,000 1,290,000

(8)

8 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น (หน่วย : พันบาท) 25x1 25x2 หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) เจ้าหนี้การค้า 55,000 90,000 ตั๋วเงินจ่าย 120,000 160,000 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 45,000 40,000 หนี้สินไม่หมุนเวียน (L-T Liabilities) เงินกู้ระยะยาว 110,000 140,000 หุ้นกู้ 130,000 180,000 ส่วนของผู้ถือหุ้น (Owners’ Equtiy) หุ้นสามัญ 400,000 400,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 100,000 100,000 กําไรสะสม 100,000 180,000 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,060,000 1,290,000

(9)

9

1. สินทรัพย์ ( Assets )

1.1. สินทรัพย์หมุนเวียน ( Current Assets )

(10)

10

2. หนี้สิน (Liabilities)

2.1 หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – current Liabilities)

3. ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' Equity)

3.1 ทุนเรือนหุ้น (Share Capital)

3.2 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Paid in Capital) 3.3 กําไรสะสม (Retain Earnings)

(11)

11 •เป็นงบที่แสดงถึงผลการดําเนินงานของกิจการ สําหรับช่วงระยะเวลาหนึ่ง as of the year … กล่าวคืองบกําไรขาดทุนจะเป็นงบที่นํารายได้ทั้งหมด และค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน ถ้ารายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายผลที่ได้คือกําไรสุทธิ แต่ถ้ารายได้ตํ่ากว่าค่าใช้จ่ายผลที่ได้คือขาดทุนสุทธิ 2. งบกําไรขาดทุน (Income Statement)

(12)

12 ตัวอย่างที่ 2 – 2 บริษัทสายฟ้า จํากัด งบกําไรขาดทุน สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2 (หน่วย:พันบาท) ยอดขาย 1,200,000 หัก ต้นทุนขาย 900,000 กําไรขั้นต้น 300,000 หัก ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน : ค่าใช้จ่ายในการขาย 40,000 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 53,000 ค่าเสื่อมราคา 50,000 กําไรจากการดําเนินงาน 157,000 หัก ดอกเบี้ยจ่าย 27,000 กําไรก่อนภาษี 130,000 หัก ภาษีเงินได้ 30% 39,000 กําไรสุทธิ 91,000 หัก เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ 0 กําไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ 91,000 หัก เงินปันผลหุ้นสามัญ 11,000 กําไรสะสมเพิ่มขึ้น 80,000

(13)

13 •เป็นงบการเงินที่แปลงข้อมูลในงบดุลและงบกําไรขาดทุน ซึ่งใช้เกณฑ์เงินค้าง (Accrual Basis) ซึ่งเป็นวิธีการบัญชีที่ยอมรับรายได้และค่าใช้จ่าย เมื่อมีการขายสินค้าและ การให้บริการ การซื้อสินค้าและการใช้บริการไปแล้ว โดยไม่คํานึงว่าจะได้รับเงินสดหรือจ่ายเงินสดแล้วหรือไม่ก็ตาม มาเป็นกระแสเงินสดซึ่งงบกระแสเงินสดนี้สามารถแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของยอดเงินสด ของกิจการในรอบระยะเวลาการดําเนินงานที่พิจารณา

(14)

14

งบกระแสเงินสดจะแบ่งกิจกรรมของกระแสเงินสดออกเป็น 3 ส่วน คือ

1.กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดําเนินงาน

(Cash flow from operating activities)

2.กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน

(Cash flow from investing activities)

3.กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน

(15)

15 ตัวอย่างที่ 2 -3 บริษัทสายฟ้า จํากัด งบกระแสเงินสด สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2 (หน่วย:พันบาท) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดําเนินงาน กําไรสุทธิ 91,000 บวก : ค่าเสื่อมราคา 50,000 การเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้า 35,000 หัก : การเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้า (25,000) การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลือ (10,000) การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (5,000) การลดลงของค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (5,000) กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดําเนินงาน 131,000 กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน เงินสดรับ : - เงินสดจ่าย :ซื้ออาคารและอุปกรณ์ (200,000) ลงทุนในหลักทรัพย์ของธุรกิจอื่น (30,000) กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน (230,000)

(16)

16 ตัวอย่างที่ 2 -3 (ต่อ) บริษัทสายฟ้า จํากัด งบกระแสเงินสด สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x2 (หน่วย:พันบาท) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน กระแสเงินสดรับ : การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินจ่าย 40,000 การเพิ่มขึ้นของเงินกู้ระยะยาว 30,000 การเพิ่มขึ้นของหุ้นกู้ 50,000 กระแสเงินสดจ่าย : จากการจ่ายเงินสดปันผล (11,000) กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงิน 109,000 กระแสเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) 10,000 บวก เงินสดต้นงวด 50,000 เงินสดปลายงวด 60,000

(17)

17 •ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า งบการเงิน เป็นรายงานสรุปข้อมูลทางการเงินของธุรกิจซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลการดําเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งว่า มีกําไรหรือขาดทุนมากน้อยเพียงใด และแสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ ขณะใดขณะหนึ่งว่า กิจการมีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร มีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น จํานวนเท่าใด การวิเคราะห์ทางการเงิน( Financial Analysis )

(18)

18 •ซึ่งข้อมูลในงบดุลสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงความมั่นคงของกิจการ ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามงบการเงินก็มีข้อจํากัดที่ไม่ได้แสดงสาระบางอย่างไว้ชัดเจนทําให้ผู้ใช้งบการเงินจําเป็นต้องทําการวิเคราะห์เพิ่มเติม ซึ่งการวิเคราะห์ทางการเงินดังกล่าวไม่ใช่เป็นการหารายละเอียดในรายการบัญชีเท่านั้นแต่จะเป็นการพิจารณาหาความสัมพันธ์ของรายการในงบการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะและการดําเนินงานของกิจการพร้อมทั้งนําข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการวางแผนควบคุม และตัดสินใจต่อไป

(19)

19 ความสําคัญของการวิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงินเป็นการวิเคราะห์เพื่อค้นหาปัญหา หรือข้อเท็จจริงทางการเงินของธุรกิจเพื่อธุรกิจจะได้นํา ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจต่อไป การค้นหาปัญหาหรือ ข้อเท็จจริง

การตัดสินใจ

แนวทางใน

(20)

จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินมีอยู่ด้วยกัน

หลายประการ เช่น

*

เพื่อวินิจฉัยปัญหาการดําเนินงานและปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ในธุรกิจ *ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินการบริหารงานของฝ่ายบริหาร *ใช้เป็นเครื่องมือพยากรณ์ฐานะการเงินในอนาคต ตลอดจน ผลที่จะเกิดขึ้นตามมา *ใช้เป็นเครื่องมือเบื้องต้นเพื่อเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นต้น.
(21)

จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินดังกล่าว

สามารถจําแนกตามกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้แก่

ผู้ถือหุ้น

เจ้าหนี้

ผู้บริหาร

รัฐบาล

.

(22)

22 การวิเคราะห์ทางการเงินจะไม่มีความหมาย หากปราศจากการเปรียบเทียบ ซึ่งการเปรียบเทียบอาจจะกระทําได้ 2 ลักษณะ คือ ก.เปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตของกิจการเอง ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบ งบการเงินปีปัจจุบัน กับงบการเงินของปีก่อน ๆ ยิ่งเปรียบเทียบกันหลาย ๆ ปี ยิ่งเป็นการดี เพราะจะได้เห็นถึงแนวโน้มจากอดีตถึงปัจจุบัน

(23)

23 ข.เปรียบเทียบกับงบการเงินของกิจการที่เป็นคู่แข่งขันหรือ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ซึ่งต้องคํานึงถึงขนาดของธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน และเป็นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรม ประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันและเรียกการเปรียบเทียบแบบนี้ว่า

(24)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงิน

1. การวิเคราะห์แนวตั้ง ( Vertical Analysis )

2. การวิเคราะห์แนวนอน (Horizontal Analysis )

3. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

(25)

25

(26)

26 •การวิเคราะห์แนวตั้ง เป็นการวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบส่วนประกอบแต่ละรายการของงบการเงินกับยอดรวม โดยเทียบยอดรวมเป็น 100 เช่น การวิเคราะห์งบดุลซึ่งกําหนดให้สินทรัพย์รวม หรือหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นยอดรวมมีค่าเป็น 100 ขณะที่ในการวิเคราะห์งบกําไรขาดทุนจะกําหนดให้ยอดขายเป็น 100 การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบส่วนประกอบของแต่ละรายการในงบการเงินกับยอดรวม โดยเทียบยอดรวมเป็น 100 และรายการอื่น ๆ ให้เป็นอัตราร้อยละต่อยอดรวมนี้ อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วิธีอัตราร้อยละต่อยอดรวมหรือวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common-Size)

(27)

27

(28)

28 •การวิเคราะห์แนวนอน เป็นการวิเคราะห์งบการเงินโดยการเปรียบเทียบ งบการเงินของหลาย ๆ งวด เพื่อเป็นการดูว่ารายการในงบการเงินของงวดต่าง ๆมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การเปรียบเทียบงบการเงินของหลาย ๆ งวดนี้ สามารถจะเปรียบเทียบ 2 งวดหรือมากกว่า 2 งวด การเปรียบเทียบดังกล่าวอาจจะทําได้โดย (1) เปรียบเทียบกับข้อมูลของงวดก่อน 1 งวด (2) เปรียบเทียบกับข้อมูลของงวดที่ใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์

(29)

3.

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

( Financial Ratios Analysis )

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เป็นการนํารายการ

ในงบการเงิน

2

รายการมาหาความสัมพันธ์กัน โดย

รายการทั้ง

2

รายการที่นํามาเข้าสัดส่วนกัน อาจจะเป็น

ข้อมูลจากงบการเงินเดียวกัน หรือข้อมูลจากงบการเงิน

(30)

30 •แต่เนื่องจากงบดุลเป็นงบที่แสดงฐานะทางการเงิน ณ วันใดวันหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์งบการเงินจะใช้งบดุล ณ วันสิ้นงวด ส่วนงบกําไรขาดทุนเป็นงบที่แสดงผลการดําเนินงานของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์งบการเงินจะใช้งบกําไรขาดทุนของรอบระยะเวลา 1 ปี การนําข้อมูลจากงบกําไรขาดทุนและงบดุลที่มีลักษณะต่างกันมาเข้าสัดส่วนกันอาจทําให้เกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์ เนื่องจากรายการต่างๆในงบดุลเป็นตัวเลข ณ วันสิ้นปี แต่ขณะที่รายการต่างๆจากงบกําไรขาดทุนเป็นตัวเลขตลอดระยะเวลา 1 ปี ดังนั้นเพื่อให้ผลของการวิเคราะห์งบการเงินถูกต้องมากขึ้นจึงควรทําให้ตัวเลขของรายการในงบดุลเป็นค่าเฉลี่ย

(31)

31

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

=

สินทรัพย์หมุนเวียน

หนี้สินหมุนเวียน

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้

=

ยอดขายเชื่อ

ลูกหนี้การค้า

งบดุล งบดุล งบกําไรขาดทุน งบดุล

เฉลี่ย

(32)

32 ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย = ลูกหนี้การค้าต้นงวด + ลูกหนี้การค้าปลายงวด 2 จากงบดุลของบริษัทพรเทพ จํากัด ในตัวอย่างที่ 2-10 ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย ของปี 25x2 = 140,000 + 180,000 = 160,000 2

(33)

33 •ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินคืองบดุล ณ วันสิ้นงวด และงบกําไรขาดทุนประจํางวด ถ้าผู้วิเคราะห์ต้องการใช้ข้อมูลในงบดุลเป็นค่าเฉลี่ยก็จะต้องมีงบดุลเปรียบเทียบ ณ วันสิ้นงวด 2 งวด เพื่อจะหาค่าเฉลี่ยของรายการในงบดุล โดยตัวอย่างที่ 2 -10 เป็นงบดุลและงบกําไรขาดทุน ของบริษัทพรเทพ จํากัด ปี 25x1และ25x2 จะใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

(34)

34 ประเภทของอัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน โดยส่วนมากนิยมจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ 1. อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง ( Liquidity Ratios ) 1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ( Current Ratio ) 1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ( Quick Ratio )

(35)

35

2. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์

( Asset Management Ratios , Efficiency Ratios)

2.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้

( Account Receivable Turnover Ratio ) 2.2 ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้

( Average Collection Period )

2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ

( Inventory Turnover Ratio )

2.4 ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ

( Inventory Turnover Period ) 2.5 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

(36)

36

3. อัตราส่วนแสดงหนี้สิน ( Leverage Ratios )

3.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม

( Debt to Total Assets Ratio )

3.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

( Debt to Equity Ratio )

3.3 อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย

(37)

37

4.อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทํากําไร ( Profitability Ratios )

4.1 อัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย

( Net Profit Margin Ratio )

4.2 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม

( Return on Total Assets Ratio ) 4.3 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

(38)

1.

อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง

(Liquidity Ratios)

อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง เป็นอัตราส่วน

ที่ใช้วัดความสามารถในการชําระหนี้ระยะสั้นของ

ธุรกิจ โดยอัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าธุรกิจมี

สินทรัพย์หมุนเวียน

ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สามารถ

เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วเพื่อนํามาชําระ

หนี้สิน

หมุนเวียน

ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีกําหนดการชําระคืน

ภายใน

1

ปี ได้มากน้อยเพียงใด

.

(39)

1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน = 465,000 = 1.55 เท่า 300,000 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องของธุรกิจ โดยอัตราส่วนนี้จะแสดงความสามารถของธุรกิจในการชําระหนี้ ระยะสั้นได้ทันกําหนด อัตราส่วนทุนหมุนเวียน ยิ่งมากเท่า ยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูง.

(40)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วเป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องของธุรกิจ เช่นเดียวกัน โดยอัตราส่วนนี้จะแสดงให้ทราบว่าธุรกิจมีสินทรัพย์ หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องเร็วคือเงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของ ตลาด ตั๋วเงินรับและลูกหนี้การค้าเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ยิ่งมากเท่า ยิ่งดี เพราะเป็นการแสดงว่า ธุรกิจมีสภาพคล่องสูง 1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว(Quick Ratio) = เงินสด + หลักทรัพย์ฯ + ตั๋วเงินรับ + ลูกหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียน = 45,000 + 180,000 = 0.75 เท่า 300,000

(41)

2.

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์

( Assets Management Ratios , Efficiency Ratio)

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อ

ก่อให้เกิดยอดขายมากน้อยเพียงใด การคํานวณอัตราส่วน

แสดงความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ มักจะ

(42)

2.1 อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายเชื่อ* (Account Receivable Turnover) ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย

= 1,800,000* = 11.25 รอบ 160,000 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัด ความสามารถในการบริหารลูกหนี้การค้า โดยอัตราการ หมุนเวียนของลูกหนี้ จะบอกให้ทราบถึงจํานวนรอบที่ลูกหนี้ การค้านําเงินสดมาชําระหนี้ค่าสินค้า ในช่วงระยะเวลา 1 ปี .

(43)

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ยิ่งมากรอบ ยิ่งดี

แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้การค้าของบริษัทฯนําเงินสดมาชําระหนี้ ค่าสินค้าแล้วซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อรอบต่อไปบ่อยครั้งในช่วง ระยะเวลา 1 ปี นั่นคือธุรกิจสามารถเปลี่ยนสถานะจากลูกหนี้ เป็นเงินสดได้เร็ว.

(44)

2.2ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ = จํานวนวันใน 1ปี

(Average Collection Period) อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้

= 360 = 32 วัน 11.25

โดยระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ยิ่ง

น้อยวัน ยิ่งดี

เพราะ

หมายถึงบริษัทพรเทพ จํากัดได้รับชําระเงินจากลูกหนี้การค้าเร็ว

แสดงให้เห็นความสามารถในการบริหารลูกหนี้การค้าของ

บริษัทฯ

.

(45)

2.3อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = 1,350,000 225,000 = 6.00 รอบ อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถ ในการบริหารสินค้าคงเหลือ โดยอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ จะ บอกให้ทราบถึงจํานวนจํานวนครั้งในการขายสินค้าคงเหลือของบริษัทในช่วง ระยะเวลา 1 ปี

(46)

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ยิ่งมากรอบ ยิ่งดี

เพราะหมายถึงบริษัทพรเทพ จํากัดมีการบริหารสินค้าคงเหลือ ที่ดี ไม่เก็บรักษาสินค้าไว้นานหรือมากเกินไป บริษัทไม่ต้อง นําเงินลงทุนไปจมกับสินค้าคงเหลือเป็นระยะเวลานาน

(47)

47

ซึ่งจากอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสามารถนํามา คํานวณ ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือได้ดังนี้

(48)

2.4 ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = จํานวนวันใน 1 ปี อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = 360 6 = 60 วัน ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือยิ่งน้อยวัน ยิ่งดี เพราะหมายถึง บริษัทพรเทพ จํากัด มีความสามารถในการขายสินค้าได้เร็วแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการบริหารการขายของบริษัท.

(49)

2.5อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม = ยอดขาย สินทรัพย์รวมเฉลี่ย = 1,800,000 1,597,500 = 1.13 รอบ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมเป็นอัตราส่วนที่ใช้วัด ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์รวมของธุรกิจ โดยอัตราการ หมุนเวียนของสินทรัพย์รวมจะบอกให้ทราบว่าเงินทุนที่ธุรกิจใช้ ลงทุนไปในสินทรัพย์รวมก่อให้เกิดยอดขายได้มากน้อยเพียงใด.

(50)

อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ยิ่งมากรอบ ยิ่งดี เพราะ หมายถึงบริษัทพรเทพ จํากัดมีความสามารถในการบริหาร สินทรัพย์รวมของบริษัทฯ ก่อให้เกิดยอดขายจํานวนมาก นอกจากนี้ยังแสดงให้ทราบว่าบริษัทฯได้ใช้ประโยชน์จาก สินทรัพย์ทั้งหมดอย่างเต็มที่ ถ้าอัตราการหมุนเวียนของ สินทรัพย์รวมตํ่า แสดงว่าบริษัทฯอาจจะมีสินทรัพย์รวม มากเกินความจําเป็น.

(51)

3.

อัตราส่วนแสดงหนี้สิน

(Leverage ratios)

อัตราส่วนแสดงหนี้สิน เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสัดส่วนของการก่อ หนี้สินของธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัดความสามารถในการ ชําระหนี้ระยะยาว และความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่ง อัตราส่วนหนี้สินจะแสดงถึงความเสี่ยงของเจ้าหนี้ว่ามีมากน้อย เพียงใด รวมถึงแสดงเห็นว่าธุรกิจนั้นจะมีความสามารถในการ ก่อหนี้ได้มากน้อยเพียงใด.
(52)

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม เป็นอัตราส่วนที่แสดงสัดส่วน ของการก่อหนี้ของธุรกิจว่าเป็นร้อยละเท่าใดของเงินทุนที่ลงทุน ในสินทรัพย์รวม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเงินทุนว่าธุรกิจ จัดหาเงินทุนจากหนี้สินเป็นสัดส่วนเท่าใดเมื่อเทียบกับการจัดสรร ในส่วนของสินทรัพย์รวม. 3.1อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม (Debt ratio) สินทรัพย์รวม = 600,000 1,635,000 = 0.3670 หรือ 36.70%

(53)

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมที่ได้ยิ่งน้อย ยิ่งดี แสดงให้ เห็นว่าในอนาคตถ้าบริษัทฯต้องการจัดหาเงินทุนเพิ่มโดยการ ก่อหนี้จะทําได้ง่าย เพราะบริษัทฯมีภาระหนี้สินเดิมเป็น

จํานวนที่น้อย ดังนั้นผู้ให้กู้หรือสถาบันการเงินจึงยินดีที่จะให้ บริษัทฯกู้ยืมเพิ่ม.

(54)

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วน

ที่แสดงสัดส่วนของการก่อหนี้ของธุรกิจว่าเป็นร้อยละ

เท่าใดของส่วนผู้ถือหุ้น

.

3.2อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของส่วนผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม

(Debt to equity ratio) ส่วนของผู้ถือหุ้น

= 600,000 1,035,000

(55)

ผลลัพธ์อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ได้ยิ่งน้อย ยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าในอนาคตถ้าบริษัทฯต้องการจัดหา เงินทุนเพิ่มโดยการก่อหนี้จะทําได้ง่าย เพราะบริษัทฯมีภาระ หนี้สินเดิมเป็นจํานวนที่น้อยอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ให้กู้หรือ สถาบันการเงินจึงยินดีที่จะให้บริษัทฯกู้ยืมเพิ่ม แต่ถ้า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลลัพธ์มากกว่า 1 แสดงว่ามีการใช้เงินทุนจากหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะทําให้เกิดความเสี่ยงในการชําระคืนหนี้เพิ่มขึ้นถ้าเจ้าหนี้ จะให้บริษัทกู้ยืมต่อไป.

(56)

อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย เป็นอัตราส่วนที่

ใช้วัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยของธุรกิจ ซึ่ง

อัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าธุรกิจมีกําไรจากการ

ดําเนินงานเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย

.

3.3อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย =กําไรจากการดําเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย = 200,000 35,000 = 5.71 เท่า
(57)

ผลลัพธ์อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่ได้ยิ่งมากเท่า ยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง ถ้าบริษัทฯต้องการจัดหาเงินทุนเพิ่มโดยการก่อหนี้จะทําได้ง่าย

(58)

4.

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทํากําไร

(Profitability ratios)

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทํากําไร

เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทํากําไร

ของธุรกิจ

.

(59)

อัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย เป็นอัตราส่วนแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างกําไรสุทธิกับยอดขาย ซึ่งอัตราส่วนนี้จะบอกให้

ทราบว่าธุรกิจมีความสามารถในการทํากําไรสุทธิในอัตรา ร้อยละเท่าใดของยอดขาย.

4.1อัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย = กําไรสุทธิ

( Net profit margin) ยอดขาย

= 115,500 1,800,000

= 0.0642 หรือ 6.42%

(60)

ผลลัพธ์อัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย ที่ได้ยิ่งมาก ยิ่งดี

แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯมีความสามารถในการทํากําไรสุทธิ ได้สูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการขาย และ การควบคุมค่าใช้จ่ายของธุรกิจทําได้ดี.

(61)

4.2อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม = กําไรสุทธิ

(Return on total asset) สินทรัพย์รวมเฉลี่ย

= 115,500 1,597,500 = 0.0723 หรือ 7.23%

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัด

ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ทั้งหมดว่ามี

ผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด

.

(62)

ผลลัพธ์อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ที่ได้ยิ่งมาก ยิ่งดี

แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯมีความสามารถในการทํากําไรสุทธิได้ สูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์รวม ของธุรกิจเพื่อก่อให้เกิดผลตอบแทนเป็นจํานวนมาก.

(63)

อัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัด ผลตอบแทนของเงินลงทุนที่จัดหามาจากส่วนของผู้ถือหุ้น โดยอัตราส่วนนี้จะบอกให้ทราบว่าผลตอบแทนของส่วนผู้ถือ หุ้นของธุรกิจมีมากน้อยเพียงใด คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ 4.3อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = กําไรสุทธิ (Return on Equity) ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย = 115,500 1,017,500 =0.1135หรือ11.35 %

(64)

ผลลัพธ์อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ได้ยิ่งมาก ยิ่งดี

แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯมีความสามารถในการหาผลตอบแทน ให้แก่ผู้ถือหุ้นทําให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการ ลงทุน.

(65)

การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินทําได้

2

ลักษณะ คือ

1. Time Series Comparisons

(66)

1. Time Series Comparisons เป็นการเปรียบเทียบอัตราส่วน ของบริษัทเดียวกัน โดยเปรียบเทียบอัตราส่วนปัจจุบันกับอดีต เพื่อคาดการณ์ในอนาคต และศึกษาแนวโน้มของการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเช่น สภาพคล่องของบริษัท ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท ความสามารถ ในการทํากําไรของบริษัทว่าดีขึ้นหรือแย่ลง เพื่อที่บริษัทจะได้ วางแผนแก้ไขข้อบกพร่องต่อไป

ซึ่ง Time Series Comparisons เป็น

การเปรียบเทียบกับ

ตัว

ธุรกิจเอง

ในอดีต เพื่อดูการเจริญเติบโตว่า ธุรกิจมีแนวโน้ม

(67)

2. Cross Sectional Comparisons เป็นการเปรียบเทียบอัตราส่วน ของบริษัทกับอัตราส่วนของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรืออาจจะเปรียบเทียบอัตราส่วนของบริษัทกับอัตราส่วนโดยเฉลี่ย ของอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งการเปรียบเทียบดังกล่าวต้องเป็นการ เปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วย เช่นถ้าผู้วิเคราะห์ต้องการ ทราบสภาพคล่องของบริษัทในปี 25x2 ว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูงกว่า หรือตํ่ากว่าบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันก็จะต้องใช้วิธี เปรียบเทียบอัตราส่วนแสดงสภาพคล่องของบริษัทในปี 25x2 กับ อัตราส่วนแสดงสภาพคล่องของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ของปี 25x2 ด้วยเช่นกัน.

(68)

ซึ่ง

Cross Sectional Comparisons

เป็นการเปรียบเทียบตัวธุรกิจกับคู่แข่ง โดยพิจารณาธุรกิจมี ความสามารถด้านต่างๆ ดีกว่า หรือ แย่กว่า คู่แข่ง

หรือเป็นการเปรียบเทียบ ตัวธุรกิจ กับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ทํา ธุรกิจประเภทเดียวกันว่า ธุรกิจมีความสามารถด้านต่างๆ

(69)

สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทพรเทพ เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม สภาพคล่อง อัตราส่วน บริษัทพรเทพ อุตสาหกรรม วิเคราะห์อัตราส่วน ทุนหมุนเวียน 1.55 เท่า 1.50 เท่า ดี อัตราส่วนทุน หมุนเวียนเร็ว 0.75 เท่า 0.71 เท่า ดี จากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว วิเคราะห์ได้ ว่าบริษัทพรเทพ มีสภาพคล่อง สูงกว่า อุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย ซึ่ง นับเป็นจุดแข็ง ( Strength ) ของบริษัท

(70)

สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทพรเทพ เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม การบริหารสินทรัพย์ อัตราส่วน บริษัทพรเทพ อุตสาหกรรม วิเคราะห์ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ 11.25 เท่า 10.00 เท่า ดี ระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ 32 วัน 36 วัน ดี อัตราการหมุนเวียนของสินค้า 6.00 เท่า 5.63 เท่า ดี ระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้า 60 วัน 64 วัน ดี อัตราการหมุนเวียนของ ส/ท รวม 1.13 เท่า 1.01 เท่า ดี

(71)

จากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้และระยะเวลาเฉลี่ยในการเก็บหนี้ วิเคราะห์ได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการบริหารลูกหนี้การค้า สูง กว่า อุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย แสดงว่าบริษัทมีความสามารถเก็บหนี้ จากลูกหนี้ได้เร็ว และจากอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ และระยะเวลาหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ สูงกว่า อุตสาหกรรม โดยเฉลี่ย แสดงว่าบริษัทมีการบริหารสินค้าคงเหลือที่ดี โดย สามารถขายสินค้าได้เร็วกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย ซึ่งนับเป็นจุด แข็ง ( Strength ) ของบริษัท.

(72)

สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทพรเทพ เปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรม อัตราส่วนแสดงหนี้สิน บริษัทพรเทพ อุตสาหกรรม วิเคราะห์ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม 36.70 % 34.20 % ไม่ดี อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น 57.97% 51.98 % ไม่ดี ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 5.71 เท่า 5.90 เท่า ไม่ดี

(73)

จากอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของ ผู้ถือหุ้น วิเคราะห์ได้ว่าบริษัทจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน สูงกว่า อุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย ทําให้บริษัทมีความเสี่ยงที่ สูงกว่า อุตสาหกรรม โดยเฉลี่ย เพราะการกู้ยืมที่มากส่งผลให้บริษัทมีภาระการจ่ายดอกเบี้ย ทั้งนี้จากอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย พบว่าบริษัท มี ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยที่ ตํ่ากว่า อุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย ดังนั้นโอกาสในการจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืมจึงเป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่ง นับว่าเป็นจุดอ่อน (Weakness) ของบริษัท.

(74)

สรุปอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทพรเทพ เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม ความสามารถในการทํากําไร อัตราส่วน บริษัทพรเทพ อุตสาหกรรม วิเคราะห์ อัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย 6.42 % 7.54 % ไม่ดี อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม 7.23 % 8.15 % ไม่ดี อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 11.35 % 13.47 % ไม่ดี

(75)

จากอัตรากําไรสุทธิต่อยอดขาย อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตรา ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น วิเคราะห์ได้ว่าบริษัทมีความสามารถในการ ทํากําไรตํ่ากว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย หมายความว่าบริษัทอาจมียอดขาย น้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือมีต้นทุนสินค้าขายและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่ สูง ดังนั้นบริษัทควรเพิ่มยอดขายและพยายามลดต้นทุนสินค้าขายและ ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานให้ลดลงเพื่อทํากําไรสุทธิให้เพิ่มขึ้น การที่บริษัทมี ความสามารถในการทํากําไรตํ่านี้นับว่าเป็นจุดอ่อน (Weakness) ของบริษัท.

(76)

76

References

Related documents

This case presents issues of exceptional constitutional importance that merit rehearing en banc. The panel opinion fails to account for the realities of modern

Generally, senior nursing students had higher mean scores of overall self-directed learning readiness dimensions than junior nursing students .The same results

highlighting the importance of this across a number of different areas – including the high quality of BBC entertainment content across platforms and genres, e.g. Poldark, Wolf

1 official copy 3 GRE or MAT April 1 (Fall admission only) http://www.uncg.edu/hpms/how_to_apply.php Personal Statement; for more information see: Resume tina_sarawgi@uncg.edu

Publish and Share is a geocloud platform for hosting and integrating tools and data which facilitates land tenure recording services and applications. It comes with the

Longhorn Related References User Guide services.tacc.utexas.edu/index.php/longhorn-user-guide General Information www.intel.com/technology/architecture-silicon/next-gen/

Asian Forum on Corporate Social Responsibility. Media coverage and charitable giving after the 2004 tsunami. Does the Type of News Coverage Influence Donations to Disaster

Pulse-width modulation of an external clock signal that controls the inductor oscillating frequency may also be used to regulate the brightness of an EL lamp.. In this circuit,