• No results found

แผนการจ ดการเร ยนร กล มสาระการเร ยนร ว ทยาศาสตร ระด บช นม ธยมศ กษาป ท 1-6 เร อง สวนป านานาพรรณ เวลา 5 ช วโมง แผนการจ ดการเร ยนร ท 1 เร อง สวนป

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2021

Share "แผนการจ ดการเร ยนร กล มสาระการเร ยนร ว ทยาศาสตร ระด บช นม ธยมศ กษาป ท 1-6 เร อง สวนป านานาพรรณ เวลา 5 ช วโมง แผนการจ ดการเร ยนร ท 1 เร อง สวนป"

Copied!
11
0
0

Loading.... (view fulltext now)

Full text

(1)

แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เรื่อง สวนป่านานาพรรณ เวลา 5 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สวนป่านานาพรรณ เวลา 5 ชั่วโมง ………... สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยา ศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ 2.ตัวชี้วัด ว 2. 1. 3 อธิบายความสําคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และเสนอแนะแนวทางในการดูแลและ รักษา ว 2.2.4 วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.สาระสําคัญ สวนป่าโรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการหรือห้องสมุดธรรมชาติที่มีคุณค่า เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าชั้น ปฐมภูมิ หรือแหล่งเรียนรู้เบื้องต้นที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง นักเรียนสามารถแสวงหา คําตอบจากการสังเกต สัมผัส รับรู้ เกิดความเข้าใจ เป็นประสบการณ์ที่มีสามารถนําไปสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเองและ ผู้เรียนมีความรู้คงทน เป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถนํามาจัดในห้องเรียนได้ 4.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. นักเรียนรู้จักและบอกลักษณะของพรรณไม้ในสวนป่าโรงเรียน 2. นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับพืชที่ใช้รักษาโรคได้ 3. นักเรียนเกิดความตระหนักในความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เกิดความรัก เคารพ ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งอื่นในธรรมชาติ 4. นักเรียนมีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม 5. นักเรียนสามารถรู้วิธีแก้ปัญหาจากการทํางานกลุ่มได้ 6. นักเรียนมีความสามัคคี 5. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนรู้จักและบอกชื่อพรรณไม้ชนิดต่างๆในสวนป่าโรงเรียนได้ 2. นักเรียนมีความรู้และเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับลักษณะพรรณไม้ชนิดต่างๆในสวนป่าได้ 3.นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับสรรพคุณทางยาสมุนไพรของพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจนําไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจําวันได้

(2)

4. นักเรียนมีความรู้และเกิดความตระหนักในความรับผิดชอบ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เกิดความรัก เคารพผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งอื่นในธรรมชาติ 4. นักเรียนสามารถทํางานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม 5. นักเรียนสามารถรู้และหาวิธีแก้ไขปัญหาในการทํางาน 6. นักเรียนสามารถรู้วิธีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 6.สาระการเรียนรู้ 6.1 เนื้อหา 6.1.1 ชื่อพรรณไม้ 6.1.2 ข้อมูลของพรรณไม้ 6.1.3 พืชสมุนไพร 6.1.4 การอนุรักษ์พืช 6.1.5 การทํางานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม 6.1.6 การแก้ปัญหาการทํางานกลุ่ม 6.1.7 การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม 6.2 ทักษะกระบวนการทํางาน ใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่มและรายบุคคลโดยผู้เรียนลงมือทํางานด้วยตนเอง สามารถ บูรณาการให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้อื่นได้ 7. เป้าหมายการเรียนรู้ 7.1 ความเข้าใจที่คงทน การใช้สวนป่าเป็นแหล่งวิทยาการในการเรียนรู้จึงไม่ได้มุ่งหมายเพียงเพื่อให้นักเรียนรู้จักพืช พรรณไม้เท่านั้น จุดหมายปลายทางที่สําคัญที่สุดคือ ผู้เรียนเหล่านี้จะเป็นผู้ช่วยอนุรักษ์พืชพรรณไม้เพื่อความ ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมต่อไป 7.2 จิตพิสัย/คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1. นักเรียนมีความรับผิดชอบ ตั้งใจ ให้ความร่วมมือกับการทํากิจกรรมของกลุ่ม 2. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ทําทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม 3. นักเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง 7.3 ทักษะเฉพาะวิชา 1. เป็นการเรียนรู้แบบได้รับประสบการณ์ตรง ค้นพบความรู้ด้วยตนเองผ่านการกระตุ้นทาง ประสาทสัมผัส ได้แก่ การสังเกต การเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล การสรุปข้อมูล 2. สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดี ที่พึงประสงค์ มีนิสัยรักการทํางาน ทํางานอย่างเป็นระบบ 3. มีการใช้กระบวนการ ขั้นตอนของการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ประเมินผลได้

(3)

7.4 ทักษะคร่อมวิชา สามารถที่จะบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ศิลปะ สังคมศาสนา และ วัฒนธรรม การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ 8.การวัดผลประเมินผล สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล ด้านทักษะความรู้(K) -ทดสอบความรู้ความ เข้าใจ - ใบงาน ผ่านเกณฑ์ประเมิน 80% ขึ้นไป ด้านทักษะกรบวนการ(P) -ประเมินพฤติกรรม ประเมินผลงาน/ชิ้นงาน - แบบประเมินพฤติกรรม - แบบประเมินผลงาน/ ชิ้นงาน ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับ 2 ขึ้นไป ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A) -การสังเกต - การสอบถาม -แบบบันทึกการสังเกต - แบบสอบถาม ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับ 2 ขึ้นไป 9.กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 สํารวจพรรณไม้ในสวนป่า 1.ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน 1.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น กลุ่ม โดยให้นักเรียนตั้งใจฟังคําอธิบายหรือคําชี้แจงจากครูเมื่อนําเข้าสู่ การปฏิบัติกิจกรรมการเรียน สรุปบทเรียนและเนื้อหาสาระจนเข้าใจ เมื่อสงสัยต้องซักถามครู หากไม่เข้าใจ หรือสงสัยให้ถามครู 2. ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับพรรณไม้ที่นักเรียนรู้จัก 2.2 นักเรียนและครูร่วมกันเดินสํารวจพรรณไม้ในสวนป่าโรงเรียน 2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มทํากิจกรรมผังสวนและบริเวณสวนป่าพร้อมทั้งสํารวจพรรณไม้(ใบงานสวนป่า ศึกษา) 2.4 นักเรียนแต่ละกลุ่มทํากิจกรรม แล้วส่งตัวแทนรายงานผลหน้าชั้นเรียนและนําข้อมูลของแต่ละกลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน 3.ขั้นสรุป นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปชนิดของพรรณไม้ในสวนป่าว่ามีพรรณไม้ชนิดใดบ้าง พร้อมทั้ง บริเวณที่พรรณไม้อาศัยอยู่

(4)

ชั่วโมงที่ 2-3 เลือกพรรณไม้ในสวนป่าโรงเรียน 1.ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน 1.1 นักเรียนและครูทบทวนกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการสํารวจพรรณไม้ในสวนป่า 2. ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.1นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลพรรณไม้ที่ไปสํารวจในสวนป่าโดยให้เลือกมาเลือกศึกษา 1 ชนิด 2.2นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลพรรณไม้ที่ไปสํารวจในสวนป่าตามที่กลุ่มเลือกไว้โดยศึกษาขั้นตอน ที่มีอยู่ในเอกสารบันทึกข้อมูลพรรณไม้ตามที่ครูแจกให้ 2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มทํากิจกรรม แล้วส่งตัวแทนรายงานผลหน้าชั้นเรียนและนําข้อมูลของแต่ละกลุ่ม 3.ขั้นสรุป 3.1 นักเรียนและครูอภิปรายสรุปผลการศึกษาพรรณไม้ของแต่ละกลุ่ม ชั่วโมงที่ 4-5 สํารวจพืชสมุนไพร 1.ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน 1.1นักเรียนและครูร่วมสนทนาแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในสิ่งที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับ พรรณไม้รวมถึงคุณค่า ประโยชน์ของพรรณไม้แต่ละชนิด 2.ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มนําข้อมูลในกิจกรรม “สวนป่าศึกษา” มาศึกษาว่ามีพรรณไม้ชนิดใดบ้างที่นํามา เป็นยาสมุนไพรได้โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือพืชสมุนพร ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ท หรือจากผู้รู้ใน ท้องถิ่น และบันทึกในกิจกรรม “ คุณหมออยู่ที่ไหน ” 2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มทํากิจกรรม แล้วส่งตัวแทนรายงานผลหน้าชั้นและนําข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน 3.ขั้นสรุป 3.1 แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาสรุปผลการศึกษา 3.2 ครูสรุปผลการศึกษาพืชสมุนไพรและตระหนักถึงประโยชน์ ของแต่ละกลุ่ม 10. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ 1. แบบสํารวจพรรณไม้ในสวนป่า จํานวน 7 ชุด 2. แบบรายงานการศึกษาข้อมูลพรรณไม้ จํานวน 7 ชุด 3. แบบบันทึกผลการปฏิบัติงานกลุ่ม จํานวน 7 ชุด 4. ห้องสมุดโรงเรียน จํานวน 1 แห่ง 5.อินเทอร์เน็ต 11. ชิ้นงาน / ภาระงาน / ร่องรอย 1. ใบงานที่ 1 กิจกรรมกลุ่ม (ใบงานสวนป่าศึกษา) จํานวน 7 ชุด 2. ใบงานที่ 2 กิจกรรมกลุ่ม (สมุดบันทึกพรรณไม้) จํานวน 7 ชุด 3. ใบงานที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม(คุณหมออยู่ที่ไหน) จํานวน 7 ชุด

(5)

4. ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จํานวน 1 ฉบับ 12. การนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้ 12.1 ผู้สอนนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจแบบพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้อย่างไร ในขั้นตอนการ เตรียมการสอน 3 ห่วง ประเด็น พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน 1. การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ วางแผนการจัดกิจกรรมให้ สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดในหลักสูตร การเรียนรู้พัฒนาทักษะการ ทางวิทยาศาสตร์และ กระบวนการทํางานกลุ่มของ นักเรียน กําหนดขั้นตอนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้ สอดคล้องกับแผนการจัดการ เรียนรู้ 2. การกําหนด ประเด็นศึกษา กําหนดประเด็นของ กิจกรรมเหมาะสมกับ ศักยภาพของผู้เรียนและ สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียน แผนการเรียนรู้เกี่ยวกับสวน ป่าเพื่อการสอดคล้องกับ กิจกรรมที่ศึกษา กําหนดให้นักเรียนศึกษา พรรณไม้ในสวนป่าเพื่อให้ เกิดประสบการณ์ตรง 3. ภาระงาน กําหนดภาระงานคือให้ทํา กิจกรรม กลุ่มละ 3 กิจกรรมตามใบงาน การเรียนรู้แบบได้รับ ประสบการณ์ตรงจะช่วยให้ นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การทํากิจกรรมสามารถทําให้ นักเรียนมีทักษะ และ ตระหนักถึงการอนุรักษ์พืช พรรณไม้เพื่อความยั่งยืน 4. เวลาที่ใช้ใน การจัดกิจกรรม กําหนดเวลาในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 5 ชั่วโมงเรื่องการทํากิจกรรม นักเรียนเรียนลงมือปฏิบัติจริง สามารถช่วยให้ผู้เรียนวาง แผนการทํางานอย่างเป็น ขั้นตอนได้ในระยะเวลาที่ กําหนด กิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีการ แบ่งเวลาในการทํางานแต่ละ ขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานได้ ตามกําหนดเวลา 5. การวัดผลและ ประเมินผล กําหนดการวัดผลและ ประเมินผลให้สอดคล้อง กับภาระงานและตัวชี้วัด การวัดผลและประเมินผล ต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตร วางแผนติดตามประเมินผล การทํางานของนักเรียนเป็น ระยะๆอย่างต่อเนื่อง

(6)

3 ห่วง ประเด็น พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน 6. สื่อ ใช้เอกสารประกอบการ เรียนรู้เพื่อให้มีความรู้เรื่อง พรรณไม้ ก่อนที่นักเรียนจะลงมือ ปฏิบัติจริงจําเป็นต้องมี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ พรรณไม้ชนิดต่าง ๆ การศึกษาข้อมูลพรรณไม้ สามารถเป็นแนวทางในการ ทํากิจกรรมและปฏิบัติได้ รวดเร็ว ความรู้ ครูมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หลักเกณฑ์การวัดผลประเมินผลการจัด กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนํามาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน คุณธรรม ครูมีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีความยุติธรรม ขยัน อดทน เมตตาต่อนักเรียน มีความพอเพียง 12.2 ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงอย่างไรบ้าง จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน 1.สํารวจและตระหนักถึงพรรณ ไม้ที่มีในสวนป่าตามระยะเวลา ขอบเขตของการเรียนรู้ 1.การสํารวจและตระหนักถึงพรรณ ไม้ที่มีในสวนป่าเพื่อนําไปเป็น แนวทางในการอนุรักษ์พรรณไม้ 1.มีสภาพสวนป่าที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ของนักเรียน มีพรรณไม้ที่ หลากหลายมีการจัดพรรณไม้ อย่างเป็นระบบง่ายต่อการศึกษา ความรู้ 1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการพรรณไม้ในสวนป่า การใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ในการเป็นยา สมุนไพร 1. นักเรียนรู้วิธีการอนุรักษ์พรรณไม้ คุณธรรม นักเรียนมีความรู้และเกิดความตระหนักในความรับผิดชอบ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เกิดความรัก เคารพผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งอื่นในธรรมชาติ

(7)

13. บันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน ... ... ... ... ... ... ...

(8)

บันทึกผลหลังสอน 12.1 ผลการจัดการเรียนรู้ 1 ) ด้านความรู้ (K ) นักเรียนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับ 4 (ดีมาก ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ( ดี ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับ 2 (ปานกลาง ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับ 1 (พอใช้ ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับ 0 ( ปรับปรุง ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... 2 ) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A ) นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับ 4 ( ดีมาก) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับ 3 ( ดี ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับ 2 ( ปานกลาง ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับ 1 ( พอใช้ ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับ 0 ( ปรับปรุง ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... 3) ด้านทักษะกระบวนการ (P) นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการในการเรียนรู้อยู่ในระดับ 4 ( ดีมาก ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการในการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ( ดี จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการในการเรียนรู้อยู่ในระดับ 2 ( ปานกลาง) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการในการเรียนรู้อยู่ในระดับ 1( พอใช้ ) จํานวน...คน

(9)

คิดเป็นร้อยละ... นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการในการเรียนรู้อยู่ในระดับ 0( ปรับปรุง ) จํานวน...คน คิดเป็นร้อยละ... 4) สรุปผลการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ ( ) ดีมาก ( ) ดี ( ) ปรับปรุง 12.2 ปัญหา / อุปสรรค ที่เกิดขึ้น ... ... ... 12.3 แนวทางแก้ปัญหา ... ... ... 12.4 ผลที่เกิดแก่นักเรียน ... ... ... 13. ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา ... ... ... ลงชื่อ... (นายสมเกียรติ รู้ธรรม ) ตําแหน่ง ผู้อํานวยการโรงเรียนไม้ยาวิทยาคม วันที่...เดือน...พ .ศ...

(10)

แผนการเรียนรู้บูรณาการสวนป่า

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียนไม้ยาวิทยาคม

ตําบลยางฮอม

อําเภอพญาเม็งราย

จังหวัดเชียงราย

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต

36

(11)

References

Related documents

In 2009, IT created the Classroom Technologies unit whose mission it is to provide our students, faculty, and the staff that support them access to the technology and services

Data performance at the application layer is measured end-to-end; that is, we simulate a “real world” data pattern and send it to the other “end” – a test server, which

Where the solution set for an equation in two variables was described as a parametrized curve, the analogous theorem describes the so- lution set for an equation in three variables as

The privacy goal is to limit the ability of data mining tools to derive inferences about sensitive attributes Π 1 ,.. The privacy goal can be achieved by suppressing some values

In Sections 60.3 and 60.4, we discuss data structures that are used to represent both data in memory as well as on disk such as fixed and variable-length records, large binary

Land use detection is one of the foremost applications of geo- spatial technologies1. Image: Forest loss in the

There is an increase in meaning of Corporate Social Responsibility: “The profits of large companies improve the lives for everyone who use their products and services.” Do you agree

Reading a record in the current database will usually not differ much from reading it in a transaction time database. So this performance measure is already satisfactory. More